วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

Five forces Analysis



วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2555

                                                                               เขียนโดย ศิริเพชร สุนทรวิภาต


Five Forces Analysis

สวัสดีค่ะพบกันเป็นครั้งที่สอง  วันนี้ขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ยังนิยมใช้กันมาถึงปัจจุบัน นั่นคือ.....Five Forces Analysis

ความเป็นมา

Five Forces Analysis เป็นโมเดลที่ใช้ในการวางแผนระดับธุรกิจ เพื่อการแข่งขัน โดยใช้ในการประเมิน และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งโมเดลนี้มาจากแนวความคิดของ Michael E. Porter

องค์ประกอบ

(1) สภาพการณ์ของการแข่งขัน (Rivalry)
(2) อำนาจการต่อรองของผู้บริโภค (Bargaining Power of Customers)
(3) อำนาจการต่อรองของผู้ผลิต หรือผู้ขายวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์ (Bargaining Power of Suppliers)
(4) การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ (Threat of new Entrants)
(5) การมีสินค้าและบริการอื่นที่ทดแทนกันได้ (Threat of Substitute

โมเดลนี้ใช้เพื่อ ???

ในแต่ละองค์ประกอบทั้งห้านั้น จะต้องทำการวิเคราะห์และพิจารณาให้ดีว่าองค์กรของตนสามารถแข่งขันได้ดีเพียงใด

จัดทำอย่างไร ???

1. นำ Strategic Factor ที่คัดไว้ซึ่งจะมีทั้งที่เป็น โอกาส (O) และอุปสรรคหรือภัยคุกคาม (T) มาเขียนลงในคอลัมน์ (1) ของ ตาราง EFAS (External Factors Analysis Summary)

2. ให้น้ำหนักแต่ละ factor ในคอลัมน์ (2) โดยน้ำหนักสูงสุด คือ 1.00 และต่ำสุดคือ 0.00 ซึ่งน้ำหนักของแต่ละปัจจัยรวมกันต้องเท่ากับ 1.00 (การให้น้ำหนักเป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร)

3. การให้คะแนนแต่ละ Factor ในคอลัมน์ (3) นั้น คะแนนสูงสุดคือ 5 และคะแนนต่ำสุดคือ 1 (Likert Scale)

4. ในแต่ละ Factor… ให้นำน้ำหนักในคอลัมน์ (2) คูณกับคะแนนในคอลัมน์ (3) ซึ่งจะได้ Weighted score ในคอลัมน์ (4)

5. ใช้คอลัมน์ (5) ในกรณีที่ต้องการให้เหตุผลกำกับแต่ละ Factor นั้น

6. รวมคะแนนถ่วงน้ำหนัก หรือ Weighted score ในคอลัมน์ (4) ทั้งหมด คะแนนที่ได้จะบอกให้รู้ว่า องค์กรสามารถตอบสนองต่อ Strategic Factor ที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมภายนอกได้ดีเพียงใด

มีใครนำโมเดลนี้ไปใช้บ้าง ???/กรณีศึกษา

บริษัท เจ เจ ซายแลบ จำกัด five forces analysis

พบกันใหม่กลยุทธ์ที่น่าสนใจ คราวหน้าค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น