วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวคิดและทฤษฎีของนักคิดที่ยิ่งใหญ่

วันที่ 15 กันยายน 2555

เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต

พบกันอีกครั้งวันนี้ระดมนักคิดให้ท่านอ่านกันแบบเต็มอิ่ม เลยค่ะ





พบกันใหม่คราวหน้าค่ะ

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวคิดและทฤษฎีของ Peter F.Drucker

วันที่ 13 กันยายน 2555

เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต
วันนี้พบกับ แนวคิดและทฤษฎีของ Peter F.Drucker ค่ะ




พบกันใหม่คราวหน้าค่ะ

แนวคิดและทฤษฎีของ Michael Hammer

วันที่ 12 กันยายน 2555

เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต

วันนี้เสนอแนวคิดและทฤษฎีของ  Michael Hammer ค่ะ 

พบกันใหม่คราวหน้าค่ะ

แนวคิดและทฤษฎีของ Edward Deming

วันที่ 11 กันยายน 2555
เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต

วันนี้พบกับแนวคิดและทฤษฎีของ Edward Deming ค่ะ


 พบกันคราวหน้าค่ะ

แนวคิดและทฤษฎีของ Dauglas Mcgregor

วันที่ 10 กันยายน 2555
เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต

วันนี้พบกับแนวคิดของ  Dauglas Mcgregor ค่ะ


พบกันคราวหน้าค่ะ

แนวคิดและทฤษฏีของ Frederick Herzberg

วันที่ 9 กันยายน 2555
เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต

วันนี้พบกับแนวคิดและทฤษฏีของ Frederick Herzberg ค่ะ

แนวคิดและทฤษฎีของ Abraham H. Maslow

วันที่ 8 กันยายน 2555
เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต

วันนี้พบกับ แนวคิดและทฤษฎีของ Abraham H. Maslow ค่ะ
พบกันคราวหน้าค่ะ

แนวคิดและทฤษฎีของ Henry Fayol

วันที่ 6 กันยายน 2555
เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต

วันนี้พบกับ แนวคิดและทฤษฎีของ Henry Fayol   ค่ะ

พบกันคราวหน้าค่ะ

แนวคิดและทฤษฎีของ Elton Mayo

วันที่ 7 กันยายน 2555
เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต

วันนี้พบกับ แนวคิดและทฤษฎีของ Elton Mayo ค่ะ
พบกันคราวหน้าค่ะ

แนวคิดและทฤษฎีของ Max Weber

วันที่ 5 กันยายน 2555
เขียนโดย ศิริเพชร สุนทรวิภาต

วันนี้พบกับ แนวคิดและทฤษฎีของ Max Weber  ค่ะ

พบกันใหม่คราวหน้าค่ะ
  

แนวคิดและทฤษฎี Frank & Lillian Gilbreth

วันที่ 4 กันยายน 2555
เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต

พบกันอีกครั้ง วันนี้เป็นแนวคิดและทฤษฎีของ Frank & Lillian Gilbreth  ค่ะ


พบกันใหม่คราวหน้าค่ะ


แนวคิดและทฤษฎี Henry L. Gantt

วันที่ 3 กันยายน 255
เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต

พบกันอีกครั้ง สำหรับแนวคิดและทฤษฎี วันนี้เป็นของ Henry L. Gantt ค่ะ
พบกันใหม่คราวหน้าค่ะ

แนวคิดและทฤษฎี Frederic Winslow Taylor

วันที่ 2 กันยายน 2555
เขียนโดย ศิริเพชร  สุนทรวิภาต


พบกันอีกครั้ง ยังเป็นหัวข้อเดิม คือแนวคิดและทฤษฎีค่ะ ของนักคิดที่ยิ่งใหญ่  Frederic Winslow Taylor พบกันได้เลยค่ะ

พบกันใหม่คราวหน้าค่ะ


แนวคิดและทฤษฎี Luther Gulick

วันที่ 2 กันยายน 2555
เขียนโดย ศิริเพชร สุนทรวิภาต

สวัสดีค่ะ พบกันอีกครั้ง วันนี้จะนำเสนอเนื้อหาที่เป็นของท่านนักคิดที่ยิ่งใหญ่ของโลกซึ่งแต่ละท่านก็ค้นพบทฤษฎีที่มีประโยชน์ต่อมนุษชาติมากมาย ดังนี้

ขอขอบพระคุณ ข้อมูลจากการนำเสนอของเพื่อน ๆ นักศึกษาค่ะ
พบกันใหม่คราวหน้าค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

Five forces Analysis



วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2555

                                                                               เขียนโดย ศิริเพชร สุนทรวิภาต


Five Forces Analysis

สวัสดีค่ะพบกันเป็นครั้งที่สอง  วันนี้ขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ยังนิยมใช้กันมาถึงปัจจุบัน นั่นคือ.....Five Forces Analysis

ความเป็นมา

Five Forces Analysis เป็นโมเดลที่ใช้ในการวางแผนระดับธุรกิจ เพื่อการแข่งขัน โดยใช้ในการประเมิน และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งโมเดลนี้มาจากแนวความคิดของ Michael E. Porter

องค์ประกอบ

(1) สภาพการณ์ของการแข่งขัน (Rivalry)
(2) อำนาจการต่อรองของผู้บริโภค (Bargaining Power of Customers)
(3) อำนาจการต่อรองของผู้ผลิต หรือผู้ขายวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์ (Bargaining Power of Suppliers)
(4) การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ (Threat of new Entrants)
(5) การมีสินค้าและบริการอื่นที่ทดแทนกันได้ (Threat of Substitute

โมเดลนี้ใช้เพื่อ ???

ในแต่ละองค์ประกอบทั้งห้านั้น จะต้องทำการวิเคราะห์และพิจารณาให้ดีว่าองค์กรของตนสามารถแข่งขันได้ดีเพียงใด

จัดทำอย่างไร ???

1. นำ Strategic Factor ที่คัดไว้ซึ่งจะมีทั้งที่เป็น โอกาส (O) และอุปสรรคหรือภัยคุกคาม (T) มาเขียนลงในคอลัมน์ (1) ของ ตาราง EFAS (External Factors Analysis Summary)

2. ให้น้ำหนักแต่ละ factor ในคอลัมน์ (2) โดยน้ำหนักสูงสุด คือ 1.00 และต่ำสุดคือ 0.00 ซึ่งน้ำหนักของแต่ละปัจจัยรวมกันต้องเท่ากับ 1.00 (การให้น้ำหนักเป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร)

3. การให้คะแนนแต่ละ Factor ในคอลัมน์ (3) นั้น คะแนนสูงสุดคือ 5 และคะแนนต่ำสุดคือ 1 (Likert Scale)

4. ในแต่ละ Factor… ให้นำน้ำหนักในคอลัมน์ (2) คูณกับคะแนนในคอลัมน์ (3) ซึ่งจะได้ Weighted score ในคอลัมน์ (4)

5. ใช้คอลัมน์ (5) ในกรณีที่ต้องการให้เหตุผลกำกับแต่ละ Factor นั้น

6. รวมคะแนนถ่วงน้ำหนัก หรือ Weighted score ในคอลัมน์ (4) ทั้งหมด คะแนนที่ได้จะบอกให้รู้ว่า องค์กรสามารถตอบสนองต่อ Strategic Factor ที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมภายนอกได้ดีเพียงใด

มีใครนำโมเดลนี้ไปใช้บ้าง ???/กรณีศึกษา

บริษัท เจ เจ ซายแลบ จำกัด five forces analysis

พบกันใหม่กลยุทธ์ที่น่าสนใจ คราวหน้าค่ะ

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555


วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555
ขั้นตอนของกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Steps of Strategic Planning Process)
เขียนโดย ศิริเพชร สุนทรวิภาต
นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยศรีปทุม
สวัสดีค่ะทุกท่าน วันนี้เป็นวันแรกของดิฉัน ที่มีโอกาสมาเล่าเรื่อง ขั้นตอนของกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์
สืบเนื่องมาจากผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุมท่านแนะนำว่านักศึกษาปริญญาเอก ควรฝึกเขียนให้มาก ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในช่วงทำวิทยานิพนธ์ พวกเรานักศึกษาต้องขอบพระคุณอาจารย์ไว้ ณโอกาสนี้ที่หวังดีต่อพวกเรา
ขั้นตอนของกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ที่ดิฉันนำมาเรียนเสนอในวันนี้ เป็นแนวความคิดของ Rezaian, 2008 ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้


1. กำหนดพันธกิจขององค์กร (Formulating Organization's mission)  พันธกิจ หรือ มิชชั่น มาจากศัพท์ทางการทหาร ที่หมายถึง "จุดมุ่งหมายพื้นฐาน ที่องค์กรพยายามจะบรรลุถึง"  เนื่องจากพันธกิจเป็นพื้นฐานในการกำหนดการจัดลำดับกลยุทธ์ แผน และ การออกแบบงานซึ่งสามารถแสดงความแตกต่างหรือลักษณะเฉพาะ ของแต่ละธุรกิจที่กล่าวว่าพันธกิจควรระบุขอบเขต การปฎิบัติงานของธุรกิจในการกำหนดการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองตลาดผ่านช่องทางการขายต่างๆในภูมิศาสตร์ที่ต่างกันออกไป (Hosseini-Nasab, 2011) ซึ่งมีแนวคิดที่สอดคล้อง กับอีกท่านหนึ่งซึ่งกล่าวว่าข้อความพันธกิจที่ชัดเจนควรจะเป็นที่มาของค่านิยม และการให้ลำดับความสำคัญต่างๆขององค์กรและการพัฒนาองค์กรผ่านทางข้อความพันธกิจนั้น (Razaian, 2008) ซึ่งพันธกิจของแต่ละองค์กรนั้นจะเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมต่างๆใน อนาคตเพราะจำเป็นต้องคิดเกี่ยวกับลักษณะและขอบเขตของการปฎิบัติการในปัจจุบันเพื่อประเมิณการจูงใจที่มีศักยภาพของตลาดและกิจกรรมในอนาคตซึ่ง ข้อความพันธกิจ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กร, (Pearce & Robinson, 2009)

2. การกำหนดเป้าหมายหลัก (Goal setting, main and specific) การกำหนดเป้าหมายจะต้องชัดเจนในเรื่องของกำหนดในระยะเวลาที่แม่นยำ มีวิธีทางสู่ความสำเร็จเพราะเป้าหมายจะต้องเป็นพื้นฐานในการวางแผนและการกำหนดนโยบาย นอกจากนั้นยังต้องกำหนดมาตรฐานแห่งศักยภาพ และดำเนินตามบทบาทสำคัญขององค์กร (Rezaian, 2008) ความสำคัญของการวางแผนคือการทำความเข้าใจว่าจะทำอย่างไรในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผน (Papke-Shield et al, 2006)

3. การประเมิณทรัพยากรขององค์กร และ ประเมิณโอกาสและอุปสรรค (Evaluation of organizational resources & environmental opportunities and threats) การจัดสร้างกลยุทธ์มักเริ่มด้วยการประเมินปัจจัยภายในและภายนอกที่จะกระทบสถานะการแข่งขันขององค์กร การวิคราะห์สถานการณ์ ประกอบด้วยการค้นหา (search) จุดแข็ง (strengths) จุดอ่่อน (weakness) โอกาส (opportunities) และอุปสรรค (treats) SWOT ที่มีผลกระทบต่อผลประกอบการขององค์กร การวิเคราะห์สถานการณ์มีความสำคัญต่อทุกบริษัท ปัจจัยภายนอกจะทำให้ทราบโอกาสและอุปสรรคที่อาจจะได้รับจากหลายแหล่ง เช่น ลูกค้า รัฐบาล ซัพพลายเออร์ นายธนาคาร เพื่อนในองค์กรอื่น และที่ปรึกษา เป็นต้น 

4การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
พื้นฐานความคิดเห็นในการวางแผนกลยุทธ์ให้องค์กรควรสัมพันธ์กันกับ ลักษณะบุคลิกขององค์กรนั้นๆกับสภาพแวดล้อมโดยรอบขององค์กรการวาง กลยุทธ์เป็นเครื่องมือหนึ่งในการนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย (D’Aveni, 1995)
เพื่อให้เข้าถึงและกลมกลืนกับข้อมูลและขีดความสามารถขององค์กรเพื่อสร้าง ความได้เปรียบคู่แข่งขัน หรือ ให้องค์กรอยู่รอดในทุกขนาดขององค์กรที่ขยาย ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อบรรลุ การพัฒนาที่ดี และมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน (Ghoshal & Barlett, 1990)

5การดำเนินกลยุทธ์ตามแผนปฎิบัติการที่กำหนด (Strategy implementation through operational programs)
หลังจากกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมได้แล้ว การปฏบัติการตามกลยุทธ์ที่ ตั้งไว้มี ความสำคัญอย่างมาก องค์กรจะต้องมีการเตรียมพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อการมุ่งสู่เป้าหมาย ให้สามารถบรรลุผลได้ การเตรียมบุคลากรในการ ปฏิบัติงาน การเตรียมเงินทุนเพื่อพัฒนา การเตรียมขั้นตอนเพื่อดำเนินงาน  ตลอดจนทรัพยากรวัตถุดิบ หรือ เครื่องมือต่างๆ โดยหลักสำคัญที่ไม่ควร ละเลยก็คือ การสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบถึงแผนกลยุทธ์ และ เป้าหมาย เพื่อความร่วมแรงร่วมใจในการมุ่งไปสู่ผลสำเร็จร่วมกัน

6. การประเมิณกลยุทธ์และการเลือกแผนที่เหมาะสมเพื่อนำไปปรับแผนกลยุทธ์ (Evaluating and Choosing alternative strategy (modified)). เมื่อนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติแล้วการนำผลของการปฏิบัติงานมาประเมินจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะแจ้งให้ผู้นำองค์กรได้รู้ว่าแผนกลยุทธ์นนั้นประสบผล สำเร็จหรือไม่ ซึ่ง สามารถที่จะวัดผลได้จากผลประกอบการ หรือ ตามขั้นตอน การควบคุมและประเมินผล ต่อไปนี้
1.1 กำหนดตัวแปรในการชี้วัด เช่น ยอดขายของสินค้า
1.2  กำหนดเป้าหมายที่จะใช้วัด เช่น ตั้งเป้ายอดขายให้เติบโตกว่าเดือนที่ผ่านมา 15%
1.3 ดูผลงานที่ได้จากแผนกลยุทธ์ เช่น นำยอดขายในเดือนที่ได้ปฏิบัติแผนกลยุทธ์ แล้วมาดูผลงาน
1.4 เปรียบเทียบผลงานที่ได้ กับ เป้าที่ตั้งไว้
1.5  ทำการตัดสินใจในการปรับปรุงแผนต่อไป


พบกันใหม่คราวหน้านะคะ